เครื่องชาร์จ EV/ระบบไฟวงจรที่ 2 ฿7,900

ติดตั้งวงจรที่ 2 EV หน้าตาเป็นอย่างไร: ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง?

บทความนี้จะอธิบายว่าวงจรที่ 2 EV คืออะไรประกอบไปด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง แล้วหน้าตาวงจรที่ 2 หลังจากติดตั้งแล้วเป็นอย่างไร ผู้อ่านจะได้คำตอบเมื่อเซลล์รถ EV หรือ/ค่ายรถยนต์แจ้งว่ามีเครื่องชาร์จพร้อมสิทธิการติดตั้งให้ ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าต้องดำเนินการวงจรที่ 2 อย่างไร?

สำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV )และต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ถ้าหากถามเซลล์หรือค่ายรถยนต์จะแจ้งเราว่าเมื่อซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจะแถม EV Charger พร้อมทั้งสิทธิ์การติดตั้งเครื่อง EV wall charger ในระยะไม่เกิน 10 หรือ 20 เมตรแล้วแต่เซลล์และค่ายรถยนต์นั้นๆ แต่ว่าเจ้าของบ้านจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าโดยเดินไฟจากที่ตู้เมนไฟเดิม(ตู้คอนซูมเมอร์)ที่ชั้น 2 ของบ้านมายังจุดติดตั้งเครื่องชาร์จที่โรงจอดรถชั้น 1 แต่ปัญหาของบ้านส่วนใหญ่นั้นมาจากที่เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า(EV Charger) พิกัด 7 kw ที่จะนำมาติดตั้งนั้นกินกระแส 32A หรือถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายคือกินกระแสประมาณเท่ากับแอร์ 9000 btu จำนวน 7 ตัวเท่ากับเครื่องชาร์จแค่เพียง 1 เครื่อง จึงทำให้การนำเอา EV Charger ที่ค่ายรถยนต์แถมมาพร้อมสิทธิ์ติดตั้งไม่สามารถติดตั้งได้เนื่องจากไฟในบ้านอันเดิมไม่เพียงพอ เซลล์หรือการไฟฟ้าจะแนะนำให้ลูกค้าเพิ่มขนาดมิเตอร์(หม้อไฟการไฟฟ้าที่เสาไฟ) เป็นขนาด 100 A และเดินไฟด้วยสายไฟขนาด 16 sqmm จากมิเตอร์สาไฟการไฟฟ้ามายังโรงจอดรถและตั้งตู้ไฟใหม่พร้อมติดตั้งเบรกเกอร์ 50A 2 pole แบบนี้เรียกว่า “วงจรที่ 2 สำหรับ EV” โดยการติดตั้งวงจรที่ 2 สำหรับ EV นั้นจะต้องดำเนินการแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ การขออนุญาติการไฟฟ้านครหลวง/หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2) การติดตั้งวงจรที่ 2

ev charger meter

1)การขออนุญาติการไฟฟ้านครหลวง/หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การขออนุญาติการไฟฟ้านครหลวง/หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยผู้ที่ต้องการจะขอวงจรสองสำหรับ EV จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1.1)ทำเรื่องการไฟฟ้าเพิ่มขนาดมิเตอร์กับการไฟฟ้านครหลวงจากขนาด15/45 เป็น 30/100A 1.2)ทำวงจร 2 ระบบไฟตามาตรฐานการไฟฟ้า ระบบกราวด์ 1.3)ติดตั้งเครื่องชาร์จ 1.4)โทรแจ้งการไฟฟ้าให้มาตรวจมาตรฐานการติดตั้ง 1.5) ถ้าตรวจผ่าน ข้อ 1.4 การไฟฟ้ามาเปลี่ยนมิเตอร์ตัวใหม่ที่ขนาด 30/100
โดยการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นให้เข้าไปติดต่อที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และทำการยื่นเรื่องขอมิเตอร์ตัวที่ 2 สำหรับ EV ส่วนการไฟฟ้านครหลวงให้เข้าไปที่ https://eservice.mea.or.th/measy/main.jsf และเลือกเมนู EV ดังรูปและขอเพิ่มขนาดเป็น 30/100

ev charger meter

2) การติดตั้งวงจร 2 สำหรับ EV

ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 นั่นคือการเดินวงจรสายเมนไฟฟ้าใหม่เส้นที่ 2 คู่ขนานกับวงจรสายเมนไฟฟ้าเส้นเดิม
การติดตั้งวงจร 2 สำหรับ EV ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ได้แก่ สายไฟ ขนาด 16 Sqmm. (L, N) สำหรับวงจร main, แล็ก ลูกถ้วย พรีฟอร์ม , ตู้คอนซูเมอร์ 4 ช่อง, เบรคเกอร์ MCB 50A 2 Pole , เสาดินทองแดงลึก 2.4 เมตร, อุปกรณ์ระบบไฟ (ท่อ uPVCไม่ลามไฟ, กล่องกันน้ำ, ข้อต่อ, ข้องอ, ก้ามปู) 

2.1 สายไฟ ที่ใช้ในการเดินระบบเมนต้องมีลักษณะคือใช้สายไฟที่ทำจากทองแดงมีขนาดสายไฟ 16 มิลลิเมตรขึ้นไป ชนิด THW และตัวสายไฟจะต้องทำจากวัสดุไม่ลามไฟและมีมาตรฐาน มอก.รองรับ โดยในตลาดที่นิยมใช้งานจะเป็นยี่ห้อ Yazaki, บางกอกเคเบิ้ล, TripleN PKS เป็นต้น โดยจะเดินจากที่มิเตอร์การไฟฟ้าดังรูป ไปยังตู้ไฟใหม่ที่โรงจอดรถของบ้าน

2.2 ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) เป็นตู้ที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เช่น Circuit Breaker ทั้งตัวหลัก(Main Breaker 2 pole) ลูกย่อยแบบ 1 pole และกันดูด RCD โดยตัวตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าต้องมีขนาดช่องที่เพียงพอ และสามารถรองรับการติดตั้งเพิ่มในอนาคตได้ โดยขนาดที่นิยมจะเป็นแบบ 7 – 9 ช่องสำหรับบ้าน และขนาด 4 - 7 ช่องสำหรับวงจร 2 โดยวัสดุของตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าจะมีทั้งแบบเหล็กและพลาสติกไม่ลามไฟ โดยผู้ใช้งานควรจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มาตรฐาน มอก. หรือ IEC

2.3 เซอร์กิตเบรกเกอร์(Breaker) คือสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ใช้ในการป้องกันวงจรไฟฟ้าจากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน โดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทำงานของมันคือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า
ในการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เบรกเกอร์ที่เราจะติดตั้งจะเป็น Main Circuit Breaker (MCB) ที่จะถูกติดตั้งที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ในพื้นที่โรงจอดรถ ซึ่งจะนิยมใช้เป็นขนาด 50A ชนิด 2 Pole ใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสและ 3 เฟส เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB มี 2 แบบที่นิยมใช้กันคือ Plug-on และ DIN-rail โดยการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถเลือกได้จากแบรนด์ชั้นนำ แบรนด์ชั้นนำ เช่น ABB, Schneider, Panasonic, PHILIPS, Haco, เซฟ-ที-คัท, NANO โดยการเลือกนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้ เบรกเกอร์ที่มีมาตรฐาน มอก. หรือ IEC รับรอง, ขนาดกำลังไฟของเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน, แผ่นทองแดง หน้าสัมผัสขนาดใหญ่ ตัดวงจรไฟฟ้าแม่นยำ 

2.4เสาดินทองแดงลึก 2.4 เมตร
มาตรฐานหลักดินตาม ว.ส.ท. แท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง (copperbonded ground rod ) หรือแท่งทองแดง (solid copper) หรือแท่งเหล็กอาบสังกะสี (hot-dip galvanized steel) ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5/8 นิ้ว สำหรับแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง และ 0.625 นิ้ว หรือ 15.87 มม. สำหรับแท่งเหล็กอาบสังกะสี) ยาวไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร มาตรฐานสายต่อหลักดินตาม ว.ส.ท. สายที่ต่อจากหลักดินมายังจุดต่อหลักดิน (ground bus) หรือต่อจากหลักดิน มายัง ground bus ในตู้ consumer unit ของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า พิกัด 7kW หรือ 32 A จะต้องมีขนาดของสาย 10 ตารางมิลิเมตร หรือ 16 ตารางมิลลิเมตร สายต่อหลักดิน(เข้ากับหลักดิน)ตาม ว.ส.ท. ต้องใช้วิธีเชื่อมด้วยความร้อน (Exothermic Welding) หูสาย หัวต่อแบบบีบอัด ประกับต่อสาย หรือสิ่งอื่นที่ระบุให้ใช้เพื่อการนี้ ห้ามต่อโดยการใช้การบัดกรีเป็นหลัก อุปกรณ์ที่ใช้ต่อต้องเหมาะสมกับวัสดุที่ใช้ทำหลักดิน และสายต่อหลักดิน ห้ามต่อสายต่อหลักดินมากกว่า 1 เส้นเข้ากับหลักดิน นอกจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเป็นชนิดที่ออกแบบมาให้ต่อสายมากกว่า 1 เส้น 

2.5 อุปกรณ์ระบบไฟ (ท่อ uPVCไม่ลามไฟ, กล่องกันน้ำ, ข้อต่อ, ข้องอ, ก้ามปู)

ในตอนท้ายของบทความนี้ คุณจะมีความรู้และความมั่นใจในการดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับ EV Charger ที่บ้านของคุณ พร้อมกันนั้นทางเราได้มีการสรุป Checklist การติดตั้ง/ปรับปรุงระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปใช้ตรวจสอบการติดตั้งให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย มีมาตรฐาน

Hyperskytech Co.,Ltd