เครื่องชาร์จ EV/ระบบไฟวงจรที่ 2 ฿7,900

ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 คืออะไร?
ต้องติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน อย่างไรให้ผ่านมาตรฐานการไฟฟ้า?

วิธีการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ตามมาตรฐานของการไฟฟ้า ตัวอย่าง เช่น การไฟฟ้านครหลวงได้มีแบบมาตฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับ EV ทั้งสิ้น 2 แบบ ได้แก่ การติดตั้งโดยเดินไฟจากตู้ไฟเดิมของบ้าน(เช่นจากตู้ไฟที่ชั้น 2)ผ่านฝ้าเพดาน ไปยังชั้น 1 โรงจอดรถ และแบบที่สองคือการเดินในรูปแบบที่เรียกว่า “วงจร2” คือการเดินวงจรใหม่คู่ขนานกับวงจรเดิมจากมิเตอร์เสาไฟการไฟฟ้ามายังโรงจอดรถ

ev charger meter

1)ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 นั่นคืออะไร?

การเดินในรูปแบบที่เรียกว่า “วงจรที่ 2” คือการเดินวงจรใหม่คู่ขนานกับวงจรเดิมดังรูป การเดินแบบนี้มีข้อดีคือไม่ต้องยุ่งกับระบบไฟฟ้าเดิมทำให้ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว โดยการเดินแบบวงจรที่2 จะเป็นการทำระบบไฟฟ้าจากมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านมายังตู้ไฟโรงจอดรถ โดยในตู้ไฟโรงจอดรถต้องมีการติดตั้งเมนเซอกิตเบรกเกอร์แบบ 2 pole พิกัด 50A(โดยทั่วไป) รวมถึงติดตั้ง RCD กันดูดและระบบกราวด์ความลึก 2.4 เมตร

ev charger mea

ติดตั้งจากวงจรเดิมของบ้าน

ev charger mea circuit2

ติดตั้งแบบวงจร2

ev charger meter

2)ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับ EV Charger ต้องใช้อะไรบ้าง

การติดตั้ง EV WallCharger นั้นนอกจากตัวเครื่องแล้ว ผู้ใช้งานยังต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ประกอบการติดตั้งเครื่องและวิธีการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) โดยใช้อุปกรณ์ดังนี้ ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB), หลักดิน, เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC), สายไฟที่ใช้เดินวงจรเมน ในบทความนี้ได้มีการอธิบายรายละเอียดการใช้งานและการเลือกซื้อของอุปกรณ์โดยละเอียด

2.1 ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) 

ev charger comsumer unit

ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) เป็นตู้ที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เช่น Circuit Breaker ทั้งตัวหลัก(Main Breaker 2 pole) ลูกย่อยแบบ 1 pole และกันดูด RCD โดยตัวตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าต้องมีขนาดช่องที่เพียงพอ และสามารถรองรับการติดตั้งเพิ่มในอนาคตได้ โดยขนาดที่นิยมจะเป็นแบบ 7 – 9 ช่องสำหรับบ้าน และขนาด 4 - 7 ช่องสำหรับวงจร 2 โดยวัสดุของตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าจะมีทั้งแบบเหล็กและพลาสติกไม่ลามไฟ โดยผู้ใช้งานควรจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มาตรฐาน มอก. หรือ IEC 

2.2 เซอร์กิตเบรกเกอร์

    เซอร์กิตเบรกเกอร์(Breaker) คือสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ใช้ในการป้องกันวงจรไฟฟ้าจากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน โดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทำงานของมันคือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า
    ในการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เบรกเกอร์ที่เราจะติดตั้งจะเป็น Main Circuit Breaker (MCB) ที่จะถูกติดตั้งที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ในพื้นที่โรงจอดรถ ซึ่งจะนิยมใช้เป็นขนาด 50A ชนิด 2 Pole ใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสและ 3 เฟส เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB มี 2 แบบที่นิยมใช้กันคือ Plug-on และ DIN-rail


โดยการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถเลือกได้จากแบรนด์ชั้นนำ แบรนด์ชั้นนำ เช่น ABB, Schneider, Panasonic, PHILIPS, Haco, เซฟ-ที-คัท, NANO โดยการเลือกนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้ เบรกเกอร์ที่มีมาตรฐาน มอก. หรือ IEC รับรอง, ขนาดกำลังไฟของเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน, แผ่นทองแดง หน้าสัมผัสขนาดใหญ่ ตัดวงจรไฟฟ้าแม่นยำ และ

2.3 สายไฟที่ใช้เดินวงจรเมน 

ev charger wire

สายไฟที่ใช้ในการเดินระบบเมนต้องมีลักษณะคือใช้สายไฟที่ทำจากทองแดงมีขนาดสายไฟ 16 มิลลิเมตรขึ้นไป ชนิด THW และตัวสายไฟจะต้องทำจากวัสดุไม่ลามไฟและมีมาตรฐาน มอก.รองรับ โดยในตลาดที่นิยมใช้งานจะเป็นยี่ห้อ Yazaki, บางกอกเคเบิ้ล, TripleN PKS เป็นต้น

2.4 หลักดิน

มาตรฐานหลักดินตาม ว.ส.ท. แท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง (copperbonded ground rod ) หรือแท่งทองแดง (solid copper) หรือแท่งเหล็กอาบสังกะสี (hot-dip galvanized steel) ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5/8 นิ้ว สำหรับแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง และ 0.625 นิ้ว หรือ 15.87 มม. สำหรับแท่งเหล็กอาบสังกะสี) ยาวไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร
มาตรฐานสายต่อหลักดินตาม ว.ส.ท. สายที่ต่อจากหลักดินมายังจุดต่อหลักดิน (ground bus) หรือต่อจากหลักดิน มายัง ground bus ในตู้ consumer unit ของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า พิกัด 7kW หรือ 32 A จะต้องมีขนาดของสาย 10 ตารางมิลิเมตร หรือ 16 ตารางมิลลิเมตร 

สายต่อหลักดิน(เข้ากับหลักดิน)ตาม ว.ส.ท. ต้องใช้วิธีเชื่อมด้วยความร้อน (Exothermic Welding) หูสาย หัวต่อแบบบีบอัด ประกับต่อสาย หรือสิ่งอื่นที่ระบุให้ใช้เพื่อการนี้ ห้ามต่อโดยการใช้การบัดกรีเป็นหลัก อุปกรณ์ที่ใช้ต่อต้องเหมาะสมกับวัสดุที่ใช้ทำหลักดิน และสายต่อหลักดิน ห้ามต่อสายต่อหลักดินมากกว่า 1 เส้นเข้ากับหลักดิน นอกจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเป็นชนิดที่ออกแบบมาให้ต่อสายมากกว่า 1 เส้น

2.5 เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC)

เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device) มีไว้สำหรับตัดวงจร เมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้ได้ ใครที่จะติดตั้ง EV Charger ที่บ้านควรมีไว้เพื่อความปลอดภัย และเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดี ควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD กันดูดเป็นชนิด Type B ซึ่งสามารถตัดไฟได้ทั้งกรณีการรั่วแบบกระแสตรงและกระแสสลับ แต่หากเครื่องชาร์จ EV สามารถตัดไฟกระแสตรงได้ในมาตรฐานการไฟฟ้าอนุโลมให้ใช้ RCD กันดูด Type A ได้

ev charger rcd type b

          สรุปการติดตั้งระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับ EV Charger ที่บ้านให้เป็นไปตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) โดยในบทความนี้ได้มีข้อแนะนำในการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งวงจรที่ 2 ได้แก่ ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB), หลักดิน, ครื่องตัดไฟรั่ว (RDC), สายไฟที่ใช้เดินวงจรเมน 
          ในตอนท้ายของบทความนี้ คุณจะมีความรู้และความมั่นใจในการดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับ EV Charger ที่บ้าน ของคุณ พร้อมกันนั้นทางเราได้มีการสรุป Checklist การติดตั้ง/ปรับปรุงระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปใช้ตรวจสอบการติดตั้งให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย มีมาตรฐาน

Hyperskytech Co.,Ltd