เครื่องชาร์จ EV/ระบบไฟวงจรที่ 2 ฿7,900

ev charging at home

อยากติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้าน ราคา? ต้องเตรียมอะไรบ้าง? 

สุดยอดคู่มือการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger ที่บ้าน: ต้องทำอย่างไรและเตรียมอะไรบ้าง? 
พร้อมกับ Checklist การติดตั้ง

          คุณกำลังพิจารณาติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้านหรือที่ทำงานของคุณหรือไม่? ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า การมีโซลูชันการชาร์จที่เชื่อถือได้ สะดวกสบายและมีมาตรฐานจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น แต่คุณจะเริ่มต้นได้อย่างไร? ในบทความนี้จะบอกขั้นตอนการติดตั้งเครื่องชาร์จ EV เราจะให้ข้อมูลทั้งหมดที่คุณต้องรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง ตั้งแต่การทำความเข้าใจเครื่องชาร์จ EV ประเภทต่างๆ ไปจนถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการติดตั้งและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

  • การเลือกเครื่องชาร์จ EV 
  • รูปแบบระบบไฟฟ้าและติดตั้งติดตั้ง EV Charger ที่บ้านตามมาตรฐานการไฟฟ้า (กฟน./กฟภ.)
  • การตรวจสอบระบบไฟฟ้าเดิมของบ้านว่าต้องปรับปรุงเพิ่มเติมหรือไม่?
ev charger checklist

          ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของบ้านที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลหรือเจ้าของธุรกิจที่กำลังพิจารณาติดตั้งที่ชาร์จ EV ให้กับลูกค้าบทความนี้เหมาะสำหรับคุณ เราจะอธิบายปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา 1)การเลือกเครื่องชาร์จ EV 2)รูปแบบระบบไฟฟ้าและติดตั้งติดตั้ง EV Charger ที่บ้านตามมาตรฐานการไฟฟ้า (กฟน./กฟภ.) 3) การตรวจสอบระบบไฟฟ้าเดิมของบ้านว่าต้องปรับปรุงเพิ่มเติมหรือไม่?

         ในตอนท้ายของบทความนี้ คุณจะมีความรู้และความมั่นใจที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามโครงการติดตั้ง EV Wall Charger ของคุณ พร้อมกับ Checklist การติดตั้ง Wallcharger ที่บ้านให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย มีมาตรฐาน

ev charger at home

1.การเลือกเครื่องชาร์จ EV สำหรับบ้าน

การเลือก EV Wallbox ให้เหมาะสมกับการติดตั้งใช้งานที่บ้าน และรถยนต์ที่จะนำมาใช้ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ ประเภทของ EV Charger ที่มีจำหน่าย ประเภทของหัวชาร์จ มาตรฐานและฟังก์ชันต่างๆของเครื่องชาร์จ และราคา
     1.1 ประเภทของเครื่องชาร์จ EV ที่มีจำหน่าย
เมื่อพูดถึง EV Charger มีหลายประเภทให้เลือก โดยแต่ละประเภทมีความเร็วและความสามารถในการชาร์จที่แตกต่างกัน EV Charger ประเภทที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ เครื่องชาร์จระดับ 2 และเครื่องชาร์จ DC แบบเร็ว
เครดิตรูป (insideevs.com)

          i. เครื่องชาร์จระดับ 2: เครื่องชาร์จระดับ 2 ให้ความเร็วในการชาร์จที่เร็วกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องชาร์จระดับ 1 ต้องใช้วงจรไฟฟ้า 240 โวลต์ คล้ายกับที่ใช้กับเครื่องอบผ้าไฟฟ้าหรือเตาปรุงอาหาร เครื่องชาร์จระดับ 2 สามารถชาร์จได้ประมาณ 20-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการชาร์จรายวันที่บ้านหรือธุรกิจที่มีระยะเวลาจอดรถนานขึ้น สำหรับราคาในแบบ 1 เฟส ในราคา 10,000 -40,000 บาท และ 11-22kW สำหรับแบบ 3 เฟส ในราคา 20,000 - 60,000 บาท

  ii. DC Fast Chargers: DC Fast Chargers หรือที่เรียกว่าเครื่องชาร์จระดับ 3 เป็นตัวเลือกการชาร์จที่เร็วที่สุดที่มีอยู่ พวกเขาใช้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แทนไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ถึง 80% ในเวลาเพียง 30 นาที DC Fast Chargers มักพบได้ที่สถานีชาร์จสาธารณะตามทางหลวงหรือในพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่จำเป็นต้องมีการชาร์จอย่างรวดเร็ว

ev charger head

          1.2 ประเภทของหัวชาร์จเครื่องชาร์จ EV ที่ใช้กับรถไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆ ในประเทศไทยเมื่อเราจะเลือก EV Wall Charger เครื่องหนึ่งมาใช้ที่บ้านสิ่งที่สำคัญอีกอย่างไม่แพ้กันคือชนิดของหัวชาร์จ หากว่าผู้ใช้งานเลือกหัวชาร์จมาผิดชนิด(Type) จะทำให้ไม่สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้โดยหัวชาร์จที่มีขายในตัวแทนจำหน่ายประเทศไทยหรือใน Aliexpress.com จะมีหลักๆ ได้แก่ Type1 ,Type2, และ GB/T โดยหัวชาร์จในประเทศไทย 99% จะเป็น Type2 ดังรูป(www.evcharger.co.th)
          ดังนั้นผู้ที่จะติดตั้ง EV Wallbox ที่บ้านจึงต้องให้ความสำคัญกับการเลือกและการซื้อหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นชนิด Type2 ดังรูปเพื่อให้ตรงกับรถที่ใช้ในประเทศไทย 

ev charger document

2)รูปแบบระบบไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องชาร์จตามมาตรฐานการไฟฟ้า (กฟน./กฟภ.)

การติดตั้ง EV Wall Charger นั้น นอกจากตัวเครื่องแล้ว ผู้ใช้งานยังต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ประกอบการติดตั้งเครื่องและวิธีการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)
โดยอุปกรณ์หลักๆ และมาตรฐานการติดตั้งมีดังต่อไปนี้

2.1 ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) 

ev charger comsumer unit

ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) เป็นตู้ที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เช่น Circuit Breaker ทั้งตัวหลัก(Main Breaker 2 pole) ลูกย่อยแบบ 1 pole และกันดูด RCD โดยตัวตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าต้องมีขนาดช่องที่เพียงพอ และสามารถรอบรับการติดตั้งเพิ่มในอนาคตได้ โดยขนาดที่นิยมจะเป็นแบบ 7 – 9 ช่องสำหรับบ้าน และขนาด 4 - 7 ช่องสำหรับวงจร 2 โดยวัสดุของควบคุมระบบไฟฟ้าจะมีทั้งเหล็กและพลาสติกไม่ลามไฟโดยสามารถเลือกใช้งานได้ทั้งคู่

2.2 หลักดิน

มาตรฐานหลักดินตาม ว.ส.ท. แท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง (copperbonded ground rod ) หรือแท่งทองแดง (solid copper) หรือแท่งเหล็กอาบสังกะสี (hot-dip galvanized steel) ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5/8 นิ้ว สำหรับแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง และ 0.625 นิ้ว หรือ 15.87 มม. สำหรับแท่งเหล็กอาบสังกะสี) ยาวไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร
มาตรฐานสายต่อหลักดินตาม ว.ส.ท. สายที่ต่อจากหลักดินมายังจุดต่อหลักดิน (ground bus) หรือต่อจากหลักดิน มายัง ground bus ในตู้ consumer unit ของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า พิกัด 7kW หรือ 32 A จะต้องมีขนาดของสาย 10 ตารางมิลิเมตร หรือ 16 ตารางมิลลิเมตร 


สายต่อหลักดิน(เข้ากับหลักดิน)ตาม ว.ส.ท. ต้องใช้วิธีเชื่อมด้วยความร้อน (Exothermic Welding) หูสาย หัวต่อแบบบีบอัด ประกับต่อสาย หรือสิ่งอื่นที่ระบุให้ใช้เพื่อการนี้ ห้ามต่อโดยการใช้การบัดกรีเป็นหลัก อุปกรณ์ที่ใช้ต่อต้องเหมาะสมกับวัสดุที่ใช้ทำหลักดิน และสายต่อหลักดิน ห้ามต่อสายต่อหลักดินมากกว่า 1 เส้นเข้ากับหลักดิน นอกจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเป็นชนิดที่ออกแบบมาให้ต่อสายมากกว่า 1 เส้น

2.3 เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC)

เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device) มีไว้สำหรับตัดวงจร เมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้ได้ ใครที่จะติดตั้ง EV Charger ที่บ้านควรมีไว้เพื่อความปลอดภัย และเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดี ควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD กันดูด Type B ซึ่งสามารถตัดไฟได้ทั้งกรณีการรั่วแบบกระแสตรงและกระแสสลับ แต่หากเครื่องชาร์จ EV สามารถตัดไฟกระแสตรงได้ในมาตรฐานการไฟฟ้าอนุโลมให้ใช้ RCD กันดูด Type A ได้

ev charger rcd type b

2.4 สายไฟที่ใช้เดินวงจรเมน 

ev charger wire

สายไฟที่ใช้ในการเดินระบบเมนต้องมีลักษณะคือใช้สายไฟที่ทำจากทองแดงมีขนาดสายไฟ 16 มิลลิเมตรขึ้นไปชนิด THW และตัวสายไฟจะต้องทำจากวัสดุไม่ลามไฟและมี มอก.รองรับ โดยในตลาดที่นิยมใช้งานจะเป็นยี่ห้อ Yazaki TripleN PKS เป็นต้น

2.5 วิธีการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)

วิธีการติดตั้งตามมาตรฐานของการไฟฟ้าซึ่งการออกแบบใช้งานขึ้นอยู่กับระบบไฟฟ้าเดิมของบ้านแบ่งเป็น 2 แบบได้แก่ การติดตั้งโดยเดินไฟจากตู้ไฟเดิมของบ้านอาจจะผ่านฝ้าจากชั้น 2 ไปยังชั้น 1 โรงจอดรถ และต่อสายไฟเข้ากับตู้ไฟใหม่ที่มีการติดตั้ง RCD กันดูดก่อนเข้าเครื่องชาร์จ โดยการติดตั้งดังกล่างต้องมีกราวด์นั้นต้องมีความลึก 2.4 เมตรและแยกออกจากกราวด์ระบบไฟเดิม

การเดินในรูปแบบที่เรียกว่า “วงจร2” คือการเดินวงจรใหม่คู่ขนาดกับวงจรเดิมดังรูปการเดินแบบนี้มีข้อดีคือไม่ต้องยุ่งกับระบบไฟฟ้าเดิมทำให้ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว โดยการเดินแบบวงจรที่2 จะเป็นการทำระบบไฟฟ้าจากมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านมายังตู้ไฟโรงจอดรถ โดยในตู้ไฟโรงจอดรถต้องมีการติดตั้งเมนเซอกิตเบรกเกอร์แบบ 2 pole พิกัด 50A(โดยทั่วไป) รวมถึงติดตั้ง RCD กันดูดและระบบกราวด์ความลึก 2.4 เมตร

ev charger mea

ติดตั้งจากวงจรเดิมของบ้าน

ev charger mea circuit2

ติดตั้งแบบวงจร2

ev charger meter

3)ตรวจสอบระบบไฟฟ้าเดิมของบ้านว่าต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าก่อนติดตั้งที่ชาร์จ EV หรือไม่?

ก่อนจะมีการติดตั้งเครื่องชาร์จสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือระบบไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เครื่องชาร์จ จึงต้องทำการสำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าที่หน้าบ้านดูว่าเป็นกี่เฟส และพิกัดกระแสเท่าไหร่ (45A หรือ 100A) โดยในรูปจะเป็นมิเตอร์ขนาด 45A แบบ 1 เฟส ในที่นี้เราจะสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลของพิกัดกระแสมิเตอร์ไฟฟ้าว่ามีพิกัดเท่าไหร่และนำมาเปรียบเทียบกับตารางด้านท้ายอีกครั้ง

ขั้นตอนต่อมาคือการตรวจสอบ เซอร์กิตเบรกเกอร์(Breaker) ซึ่งเป็นสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ใช้ในการป้องกันวงจรไฟฟ้าจากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน โดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทำงานของมันคือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า โดยเราจะต้องสำรวจขนาดเบรกเกอร์ในตู้ไฟว่าเป็นกี่เฟสและพิกัดเท่าไหร่ (เบรกเกอร์พิกัด 50A หรือ 100A) โดยในรูปเป็นเบรกเกอร์พิกัด 50A ในที่นี้เราจะสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลของพิกัดเบรกเกอร์ว่ามีพิกัดเท่าไหร่และนำมาเปรียบเทียบกับตารางด้านท้ายอีกครั้ง

ev charger main cb 2 pole

จากข้อมูลดังกล่าวเราจะมาสรุปกันว่าถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้าติดตั้งเครื่อง EV Wall Charger ในบ้านพิกัดนิยม 7kW หรือ กินกระแส 32A 1)สามารถใช้ได้เลย หรือ2)ต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 เพิ่มพิกัดมิเตอร์การไฟฟ้า ดังตาราง

ev charger checklist table
ev charger checklist

สรุปการที่ที่จะติดตั้งเครื่องชาร์จ EV เพื่อที่จะใช้งานที่บ้านให้สามารถใช้งานได้ตามมาตรฐานและปลอดภัยจะต้องดำเนินการในสามส่วนหลักๆ เริ่มตั้งแต่ดำเนินการเลือกเครื่องชาร์จ EV ศึกษาไปจนถึงดำเนินการเดินระบบไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องชาร์จตามมาตรฐานการไฟฟ้า (กฟน./กฟภ.) โดยทางเราได้ทำตารางสรุปเป็นเช็คลิสเพื่อตรวจสอบความครบถ้วนของการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน: ต้องทำอย่างไรและเตรียมอะไรบ้าง? ดังนี้

Hyperskytech Co.,Ltd