เครื่องชาร์จ EV ฿13,900

ev charging at home

การติดตั้ง Wall Charger ที่บ้าน: เลือกอย่างไร และราคาเท่าไหร่? ยี่ห้อใหนดี

          ในยุคที่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การติดตั้งเครื่องชาร์จ (Wall Charger) ที่บ้านสำหรับ EV หรือ PHEV กลายเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า การมี EV Charger ที่บ้านไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณสะดวกสบายในการชาร์จรถยนต์ในทุกเมื่อที่ต้องการ แต่ยังช่วยประหยัดเวลาเนื่องจากไม่ต้องเดินทางไปที่สถานีชาร์จและประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากหน่วยชาร์จที่บ้านราคาพียง 4-5 บาท เทียบกับที่สถานีหน่วยละ 7-10 บาท
          การเลือก Wall Charger ที่เหมาะสมสำหรับบ้านของคุณมีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณา ตั้งแต่ประเภทของเครื่องชาร์จ การติดตั้งระบบไฟฟ้า ราคา และปัจจัยเพิ่มเติมอื่นๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเลือก Wall Charger ที่เหมาะสมสำหรับบ้านของคุณสำหรับ EV หรือ PHEV รวมถึงราคาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการติดตั้ง เพื่อให้คุณมีข้อมูลครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนในการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน (ที่มา https://currentev.com/)

ev charger meter

1) เลือกประเภทเครื่องชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)

รถยนต์ทั้ง 2 ประเภททั้ง EV และ PHEV แตกต่างกันโดย EV มีขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่า PHEV แต่ใช้เครื่องชาร์จแบบเดียวกันคือเครื่องชาร์จระดับ 2 ที่ให้ความเร็วในการชาร์จที่เร็วกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องชาร์จระดับ 1 ต้องใช้วงจรไฟฟ้า 240 โวลต์ คล้ายกับที่ใช้กับเครื่องอบผ้าไฟฟ้าหรือเตาปรุงอาหาร เครื่องชาร์จระดับ 2 สามารถชาร์จได้ประมาณ 20-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการชาร์จรายวันที่บ้านหรือธุรกิจที่มีระยะเวลาจอดรถนานขึ้น สำหรับราคาในแบบ 1 เฟส ในราคา 10,000 - 40,000 บาท และ 11 - 22kW สำหรับแบบ 3 เฟส ในราคา 20,000 - 60,000 บาท  

ประเภทของหัวชาร์จเครื่องชาร์จ EV ที่ใช้กับรถไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆ ในประเทศไทยเมื่อเราจะเลือก EV Wall Charger เครื่องหนึ่งมาใช้ที่บ้านสิ่งที่สำคัญอีกอย่างไม่แพ้กันคือชนิดของหัวชาร์จ หากว่าผู้ใช้งานเลือกหัวชาร์จมาผิดชนิด(Type) จะทำให้ไม่สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้โดยหัวชาร์จที่มีขายในตัวแทนจำหน่ายประเทศไทยหรือใน Aliexpress.com จะมีหลักๆ ได้แก่ Type1 ,Type2, และ GB/T โดยหัวชาร์จในประเทศไทย 99% จะเป็น Type2 ดังรูป (www.evcharger.co.th) 
ดังนั้นผู้ที่จะติดตั้ง EV Wall Charger ที่บ้านจึงต้องให้ความสำคัญกับการเลือกและการซื้อหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นชนิด Type2 ดังรูปเพื่อให้ตรงกับรถที่ใช้ในประเทศไทย

ev charger meter

2) ตัวอย่างราคาเครื่อง EV Wall Charger ที่น่าสนใจ

2.1) รุ่นสุดคุ้ม Suntree 7kW ราคา (15,000 บาท) ที่มา (https://evchargerbydynamo.com)
เครื่องชาร์จยี่ห้อ Suntree ซึ่งเป็นยี่ห้อจากประเทศจีนที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูง และตัวแบรนด์ยังเป็นผู้ผลิตสินค้าอันดับต้นๆในส่วนของผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยและติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน
โดยเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าซีรีย์นี้ ใช้งานได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ทั้งแบรนด์ จีน ยุโรป และอเมริกา ที่มีที่หัวชาร์จ Type 2 มี 2 ขนาดให้เลือก คือ ขนาด 7.4 kW และ ขนาด 22 kW ที่มาพร้อมความปลอดภัย แถมใช้งานง่าย รองรับกระแสไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส มีระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็มหรือมีเหตุขัดข้อง ป้องกันฝน แดด และฝุ่นละออง รองรับการใช้งานได้ทั้ง Indoor และ Outdoor สามารถสั่งชาร์จ สั่งหยุด และเช็คสถานะผ่าน APP ที่ทนต่อสภาพแวดล้อม ต่อฝน และฝุ่น ด้วยมาตรฐาน IP55 

2.2) Siements 7kW ราคา (65,000 บาท)
เครื่องชาร์จยี่ห้อ Siemens ซึ่งเป็นยี่ห้อจากประเทศเยอรมนีที่มีภาพลักษณ์ด้านความทนทานของผลิตภัณฑ์
ใช้งานได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ที่รองรับหัวชาร์จ Type 2 มี 2 ขนาดให้เลือก คือ ขนาด 7.4 kW และ ขนาด 22 kW เหมาะสำหรับใช้งานในบ้าน ดีไซน์เครื่องเรียบหรู ทันสมัย ที่มาพร้อมความปลอดภัย แถมใช้งานง่าย ชาร์จได้เร็วกว่าอุปกรณ์ชาร์จที่แถมมากับรถยนต์ถึง 3 เท่า ใช้งานผ่านระบบบัตร RFID มีให้เลือกทั้ง 2 รุ่น รองรับกระแสไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส มีระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็มหรือมีเหตุขัดข้อง ป้องกันฝน แดด และฝุ่นละออง รองรับการใช้งานได้ทั้ง Indoor และ Outdoor สามารถสั่งชาร์จ สั่งหยุด และเช็คสถานะผ่าน APP และเป็นเครื่องชาร์จรุ่นที่ทนต่อสภาพแวดล้อม ต่อฝน และฝุ่นมากที่สุดในทุกรุ่นที่เรารีวิว ด้วยมาตรฐาน IP66

2.3 Wallbox รุ่น Pulsar Max 7kw ราคา (45,000 บาท)
ใช้งานได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ที่รองรับหัวชาร์จ Type 2 ดีไซน์สวยงาม ขนาดกะทัดรัด ผลิตในประเทศสเปน เป็นเครื่องชาร์จที่ขนาดเล็กที่สุดจากทุกรุ่นที่เรารีวิวและเป็นเครื่องชาร์จยี่ห้อแรกๆ ที่ถูกนำมาจำหน่ายในไทย มีให้เลือก 2 ขนาด 7.4 kW และ 22 kW (ใช้ได้ทั้งไฟ 1 เฟส และ 3 เฟส) มีระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็มหรือมีเหตุขัดข้อง สามารถป้องกันฝน แดด และฝุ่นละอองได้ในระดับ IP55 และกันกระแทกในระดับ IK10 รองรับการใช้งานได้ทั้ง Indoor และ Outdoor สามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน Wallbox ได้

2.4 Delta รุ่น 7kw ราคา (40,000 บาท)
เครื่องชาร์จยี่ห้อ Delta ใช้งานได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ที่รองรับหัวชาร์จ Type 2 มี 2 ขนาดให้เลือก คือ ขนาด 7.4 kW และ ขนาด 22 kW เหมาะสำหรับใช้งานในบ้านหรือในเชิงภานิช ที่มาพร้อมความปลอดภัย แถมใช้งานง่ายผ่านระบบบัตร RFID มีให้เลือกทั้ง 2 รุ่น รองรับกระแสไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส มีระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็มหรือมีเหตุขัดข้อง ป้องกันฝน แดด และฝุ่นละออง IP55 และอีกทั้งยังรองรับระบบเก็นเงินผ่าน OCPP

ev charger meter

3) ตรวจสอบระบบไฟฟ้าเดิมของบ้านว่าต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าก่อนติดตั้งที่ชาร์จ EV หรือไม่?

ก่อนจะมีการติดตั้งเครื่องชาร์จสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือระบบไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน จึงต้องทำการสำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าที่หน้าบ้านดูว่าเป็นกี่เฟส และพิกัดกระแสเท่าไหร่ (45A หรือ 100A) สามารถรอบรับเครื่องชาร์จได้หรือไม่ โดยการติดตั้งต้องติดตั้งตามมาตรฐานการไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วยขนาดสายไฟต้องใช้สายทองแดงเบอร์ 16 สำหรับระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 เบรกเกอร์ขนาด 40A RCD กันดูด และระบบกราวด์ลึก 2.4 เมตร ตามมาตรฐานและคำแนะนำของการไฟฟ้าเพื่อการติดตั้งที่ปลอดภัย